รีวิวเมนบอร์ด ROG ZENITH EXTREME ALPHA (X399)

Overclocking Guide Video

     สวัสดีครับ วันนี้นาย Audigy แวะมาแปะรีวิวเมนบอร์ดรุ่นใหญ่ของ CPU AMD Threadripper จากสังกัดค่าย ROG ตัวแรง ZENITH EXTREME ALPHA ซึ่งเป็นเมนบอร์ด Socket TR4 ที่มาพร้อมกับชิปเซต AMD X399 และสำหรับจุดเด่นของเมนบอร์ดรุ่นนี้เลยก็คือ การออกแบบเกือบยกแผง….. เพื่อออกมารองรับ RYZEN Threadripper Gen.2 ที่มีการเพิ่มขนาดของจำนวนแกนประมวลผลเข้าไปที่มากขึ้นถึงระดับ 24Core/48Thread ในรุ่น 2970WX และขนาด 32Core/64Thread ในรุ่น 2990WX ดังนั้นสิ่งที่ต้องปรับปรุงอย่างแรกเลยก็คือภาคจ่ายไฟของ CPU หลักที่ต่างไปจาก ROG ZENITH EXTREME ตัวแรกอย่างมาก โดยได้เพิ่มจาก 8-Phase มาเป็นขนาดมหึมาถึง 16-Phase กันเลยทีเดียว…..

 

มาดูหน้าตาสินค้าและตัวกล่องกันเลยดีกว่าครับกับ ROG ZENITH EXTREME ALPHA รุ่นปรับปรุงใหม่เพื่อ RYZEN Threadripper GEN.2 โดยเฉพาะ

 

เมนบอร์ดเป็น Size ขนาดใหญ่แบบจัดเต็มเหมือนเดิมกับมาตราฐาน E-ATX ดูดูใหญ่โตอลังการงานสร้างมาก…. ส่วนชุด Cover ต่างๆ นั้นก็จะมาแบบจัดเต็มทั้งในส่วนของภาคจ่ายไฟ, Back I/O, Sound และชุดระบายความร้อนของชิปเซต AMD X399 ที่มาพร้อมกับชุดระบายความร้อนของ M.2 บนเมนบอร์ดที่ทำจากงานอลูมิเนียมทั้งชิ้น

 

เมนบอร์ดรุ่นนี้เป็น Socket TR4 (4094) สามารถติดตั้งได้ทั้ง AMD RYZEN Threadripper Gen.1 และ Gen.2 ทุกรุ่น

 

     ภาคจ่ายไฟทำใหม่เพื่อรองรับ CPU 32Core/64Thread ดังนั้นจึงได้ขยายภาคจ่ายไฟหน้ามากขึ้นจากรุ่นก่อนหน้านี้ 8-Phase มาเป็น 16-Phase กันเลยทีเดียว หุหุ โดยทาง ASUS ออกแบบภาคจ่ายไฟใหม่ที่เรียกว่า Alpha Design ที่จะยังคงควบคุม Mosfet (PowIRstages) เป็นคู่จากชิป PWM โดยไม่ผ่านวงจร Doubler ซึ่งทาง ASUS ให้ข้อมูลว่าการออกแบบของเขาเองนั้น จะช่วยให้ภาคจ่ายไฟตอบสนองได้ดีขึ้นเมื่อ CPU หลายๆ คอร์ต้องเรียกใช้พลังงานสูงๆ เมื่อมี Load เข้ามา… ยิ่งการ Overclock นั้นบอกได้เลยว่า TR GEN.2 นั้นสูบไฟได้โหดมาก อย่างน้อยก็มีราวๆ 3-500Watt+++ แน่นอน สำหรับ CPU 24Core หรือ 32Core เมื่อมีการดึง Load หนักๆ… (ผมเคยทดสอบให้ดูกันไปแล้วช่วง OC TR 2970WX @ 4.05Ghz+ ก็กินไฟไปราวๆ 500-700Watt ให้เห็นกันเลยนะครับ… อย่าทำเป็นเล่น…!!! ดังนั้นภาคจ่ายไฟมีผลมากๆ สำหรับ TR4 GEN.2 โดยเฉพาะผู้ที่ชอบการ OC ต้องเลือกเมนบอร์ดดีๆ ไว้ก่อนเลย)

 

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ทาง ASUS จะกลับมาใส่พัดลมระบายความร้อนให้กับภาพจ่ายไฟ ด้วยพัดลมขนาดเล็กๆ จำนวน 2 ตัวอยู่ด้านใน Cover ที่ปิดอยู่ด้านบนของ Heatsink ระบายความร้อน VRM

 

ถ้ามองจากทางด้านบน เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ด้านในมีพัดลมระบายความร้อนขนาดเล็กอยู่จำนวน 2 ตัวครับ โดยรอบการทำงานสามารถปรับแต่งได้อย่างละเอียดใน BIOS

 

นอกจากนี้ Heatsink ภาคจ่ายไฟก็ยังมีท่อ Heatpipe เข้ามาช่วยดึงความร้อนไปยัง Heatsink อีกชิ้นหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ ที่ออกแบบเป็นชุด Cover Back I/O ไปในตัวครับ

 

จุดเชื่อมต่อไฟเลี้ยง CPU แบบ +12V 8-Pin จำนวน 2 ชุด โดยทาง ASUS แนะนำว่าควรหา PSU ที่มีช่องเสียบให้ครบทั้ง 2 ช่องเพื่อให้ภาคจ่ายไฟได้ใช้พลังงานจาก PSU ได้เต็มที่  และถ้าคุณลองเสียบแค่ช่องเดียว BIOS จะเตือนคุณทันทีว่า ให้เสียบครบทั้ง 2 ชุด เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของภาคจ่ายไฟ…

 

     เมนบอร์ดรุ่นนี้ก็มีช่องเสียบ DIMM.2 มาให้ด้วยนะครับ โดยจะเป็น DIMM.2 รุ่นใหม่ที่มาพร้อมกับ Heatsink ระบายความร้อน M.2 ทั้ง 2 ด้าน ส่วนแรม DDR4 นั้นก็เป็นแบบ Quad-Channel ทั้งหมด 8xDIMM รองรับความเร็วตั้งแต่ DDR4-2133Mhz ไปจนถึงแบบ OC ที่ความเร็วระดับ 3600Mhz กันเลยทีเดียว (เช็ค QVL List กันด้วยนะครับ ว่าแรมรุ่นไหนรองรับบ้าง?) ส่วนขนาดความจุแรมที่ติดตั้งได้สูงสุดบนเมนบอร์ดรุ่นนี้คือ 128GB MAX หรือแรมแถวละ 16GB x8 แถวนั่นเอง…

Memory Support :

  • AMD Ryzen™ Threadripper™ Processors
  • 8 x DIMM, Max. 128GB, DDR4 3600(O.C.)/3466(O.C.)/3200(O.C.)/3000(O.C.)/2933(O.C.)/2800(O.C.)/2666/2400/2133 MHz ECC and non-ECC, Un-buffered Memory
  • Quad Channel Memory Architecture